วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจของหนูแกสบี้


อาการที่ปกติและผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ

1.จาม (Sneezing)
การ จามพบได้เป็นปกติในหนูแกสบี้ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่หนูสัมผัสกับอาหารที่มีลักษณะเป็นฝุ่นและสัมผัสกับฟาง ที่ใช้รองนอนหรือทิ้งไว้ให้กินเล่น โดยการจามจะเป็นปฎิกิริยาการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของร่างกายที่จะผ่านเข้า จมูกไปสู่หลอดลม แต่ในกรณีที่พบว่าหนูมีอาการจามมากกว่าปกติและพบมีน้ำมูกข้นหรือมีเลือดปน นั่นอาจบ่งบอกถึงอาการที่ผิดปกติและค่อนข้างอันตราย

2.มีเลือดออกจากจมูก (Epistaxis)
การ มีเลือดออกจากจมูก เกิดได้หลายสาเหตุ โดยอาจจะเกิดจากการขาด วิตามิน K โดยเฉพาะในอาหารเม็ดที่ผลิตมานานและในฟางหรือหญ้าที่คุณภาพต่ำ ซึ่งแหล่งวิตามิน K ที่สำคัญนั้นมาจาก พืชผักใบเขียว
อีกสาเหตุที่พบได้เกิดจากการที่หนูตกจากที่สูงหรือถูกกระแทกอย่างแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ศรีษะจนทำให้เส้นเลือดฝอยแตก


3.ไอ (Coughing)
คล้ายกับการจามซึ่งพบได้บ้างเป็นบางโอกาส โดยเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมต่างๆ

4.การหายใจเสียงดัง (Snuffles)
พบ ได้ในหนูแกสบี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนูที่มีจมูกสั้น และมักจะได้ยินเสียงเมื่อ หายใจ ปัญหานี้มักจะพบบ่อยในลูกหนูที่เกิดใหม่ และ ยังเด็กอยู่ และจะเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตามมาในภายหลัง สาเหตุนี้เทียบได้กับสุนัขพันธุ์หน้าสั้น เช่นใน พันธุ์ ชิห็สุ ปั๊ก บลูด๊อก และอื่นๆ

โรคทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในหนูแกสบี้
1.ปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterail Pneumonia) 
ปอด อักเสบหรือปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่พบเจอได้เป็นประจำในสัตว์จำพวกหนูแกสบี้และกระต่าย ซึ่งจะพบได้บ่อยขึ้นในหนูที่เลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นและอับ โดยเฉพาะหนูแกสบี้จะเป็นสัตว์ชนิดที่เมื่อได้รับเชื้อ แบคทีเรีย Bordetella bronchiseptica , Streptococcus pneumoniea จะแสดงอาการออกมาได้อย่างง่ายและรุนแรง โดยเชื้อนี้สามารถเจอได้บ่อยใน กระต่าย สุนัข และสัตว์ในตระกูลลิง (nonhuman primate) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ไว้รวมกัน
เชื้อเหล่านี้จะแฝง อยู่ในร่างกายสัตว์แต่อาจจะไม่แสดงอาการ จนกว่าหนูเกิดความเครียดและอ่อนแอลง จะทำเชื้อเหล่านี้เกิดเจริญเติบมากกว่าปกติและก่อให้เกิดอาการของโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนูที่มีอายุน้อย

การติดต่อ โดยทั่วไปมี 2 วิธีหลักๆดังนี้
1. ติดต่อกันโดยตรงระหว่างหนูตัวหนึ่งกับอีกตัวหนึ่ง เช่นการอยู่ด้วยกันแล้วมีจามหรือไอ
2. จากการใช้สิ่งของร่วมกัน 
ใน ความเป็นจริงแล้วยังมีเชื้อแบคทีเรียอีกหลายชนิดที่ก่อโรคแต่อาจจะไม่รุนแรง เท่าแบคทีเรียที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ซึ่งบางชนิดสามารถเป็นและหายเองได้ เช่น Klebsiela pneumonia , Pasturella spp.
อาการทั่วไปที่พอจะ สังเกตุพบ ได้คือ ซึม เบื่ออาหาร มีไข้ (ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่ไม่สบายก็จะพบอาการอย่างนี้) มีน้ำมูก ขี้ตา หายใจลำบาก และถ้าเกิดจากเชื้อ Bordetella spp. ก็มักจะทำให้ มีน้ำมูกข้น และก็จะเกิดปอดและหลอดลมอักเสบตามมา โดยเฉพาะที่ปอดจะทำให้ปอดแน่นขึ้น โดยอาจจะมีเซลเม็ดเลือดขาวหรือน้ำเข้ามาแทรกตามเนื้อปอด (ซึ่งจะทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนจะน้อยลง ) และบางทีเมื่อเป็นมากอาจจะทำให้มีสิ่งคัดหลั่งต่างๆไปอยู่ที่บริเวณแก้วหู ได้ด้วย(Tympanic Bulla) ส่วน Streptococcus spp. นอกจากจะทำให้เกิดโรคอย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังทำให้เกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ(pericarditis) รวมทั้งก่อให้เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบแบบมีหนองด้วย (fibrinopurulent pluritis)
การวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่แล้วในทางคลินิก มักจะทำการเพาะเชื้อแบคทีเรีย จากสิ่งคัดหลั่งที่ออกมา หรือทำการล้างหลอดลม (trachal larvage)เพื่อทำการเพาะเชื้อและหายาที่ตอบสนองต่อเชื้อ. หรือว่าอาจจะทำการตรวจหา แอนติบอดี้ จากวิธีทางห้องปฎิบัติการ ( ELISA ,indirect immunofluorescenc) การ x-ray อาจจะพบว่าบริเวณปอดมีการทึบขึ้น รวมถึงบริเวณแก้วหูด้วย
วิธีการรักษาและป้องกัน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องได้รับยาปฎิชีวนะ(อาจจะกินฉีดหรือว่าให้ทางการดม (nembulize) ) ร่วมกับเสริม วิตามิน C และต้องให้หนูได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการกระทำต่างๆที่ทำให้เกิดความเครียด เปลี่ยนถาดรองกรงทุกวันเพื่อหลีกเลี่ยง กลิ่นแอมโมเนีย จากปัสสาวะ และถ้าสามารถแยกหนูออกจาก กระต่ายหรือสุนัขก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของโรคนี้ไปได้


2.ปอดอักเสบที่เกิดจากไวรัส(Viral Pneumonia )
ส่วนใหญ่แล้ว หนูที่ป่วยจากโรคไวรัสนี้มักจะไม่ค่อยพบบ่อยเท่าอย่างแรกดังนั้นอัตราการ ป่วยจึงต่ำแต่ถ้าป่วยแล้วมักจะมีอาการอย่างเฉียบพลันและโอกาสตายสูงมาก สาเหตุโน้มนำแล้วส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความเครียด วิธีการวินิจฉัย เรามักจะวินิจฉัยได้ต่อเมื่อหนูเสียชีวิตแล้วทำการพิสูจน์ซาก โดยพบว่ามีการลอกหลุดของเยื่อบุหลอดลมอย่างรุนแรง และถ้ามีการนำชิ้นเนื้อไปทำสไลด์(histopath)มักจะพบว่ามีความผิดปกติของ เซลล์(Basophilic intranuclear inclusions)

3.การเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ( Pulmonary Neoplasia)
เนื้อ งอกที่พบในระบบทางเดินหายใจสามารถพบได้ในหนูที่อายุมาก และส่วนใหญ่มักเป็นชนิด adenoma ซึ่งในบางกรณีอาจจะทำให้การวินิจฉัยเป็นไปด้วยความลำบากและอาจจะสับสนกับ โรค ปอด อื่นๆได้
Reference 
Quesenberry K.E. 1994. Guinea Pigs. The Veterinary clinics of North America . Philadelphia .
W.B. Saunders. :74-76
Quesenberry K.E. ,Carpenter J.W., 2004. Disease Problems of Guinea Pigs. Ferrets,Rabbits,and Rodents, 2nd ED. W.B. :245-252
Richardson V.C.G. 1997. The Respiratory system. Diseases of Domestic Guinea Pigs. Cambridge.
Blackwell. : 45-48


น.สพ. เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล
สัตวแพทย์ประจำสัตวแพทย์ ๔ โพลีคลินิก โดยเฉพาะ Exotic pets
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.vet4polyclinic.com http://www.bunnyandcavy.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น